จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

บานไม่รู้โรย


บานไม่รู้โรย Gomphrena globosa Linn.



ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena globosa Linn.

วงศ์ AMARANTHACEAE

ชื่อสามัญ Bachalor's Button,Button Agaga,Globe Amaranth,Pearly Everlasting

ชื่ออื่นๆ กะล่อม ตะล่อม (ภาคเหนือ) ดอกสามเดือน กุนหยี (ภาคใต้)



บานไม่รู้โรย ความหมายของชื่อดีจังเลยค่ะ
เพราะเป็นดอกไม้ที่สวยทนนาน ไม่เหี่ยวเฉาง่าย

เชื่อกันว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้
บานไม่รู้โรยคงเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอปรัดเล ปี พ.ศ.๒๔๑๖
เขียนไว้ว่า " บานมิรู้โรย ; ดอกไม้อย่างหนึ่ง บานแล้วไม่โรยไม่เหี่ยวเลย
ดอกไม้อย่างอื่นบานแล้ว โรยเหี่ยวแห้งไป "
แสดงว่าคนไทยเมื่อ ๑๓๐ ปีก่อนโน้น รู้จักบานไม่รู้โรยกันเป็นอย่างดีแล้ว




บานไม่รู้โรยเป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน พุ่มเตี้ย
ตามลำต้นกิ่งก้านและใบปกคลุมด้วย ขนละเอียดสั้นๆ
ใบออกเป็นคู่ ตรงข้ามสลับเวียนไปตามข้อต้น ขอบใบเรียบ
ปลายใบค่อนข้างแหลม ดอกออกตรงส่วนปลายของกิ่งแขนง
ออก พร้อมกันทีละมากๆ ทรงดอกค่อนข้างกลม





แต่ละดอก ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก
ดอกย่อยแต่ละดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
เมื่อติดเมล็ดแล้วกลีบดอกยังคงติดอยู่กับก้านดอก
ไม่ร่วงหล่นเหี่ยวเฉาหรือเปลี่ยนสีเหมือนดอกไม้ชนิดอื่น
เป็นลักษณะเด่นของดอกไม้ชนิด นี้จึงได้ชื่อว่าดอกบานไม่รู้โรย





ประโยชน์หลักอย่างหนึ่งของดอกบานไม่รู้โรยที่รู้จักกันดีก็คือ
การนำมาตกแต่งในงานพิธีต่างๆ เพราะ นอกจากงดงามคงทนได้นานแล้ว
ยังถือเป็นดอกไม้มงคลชนิดหนึ่งด้วย เพราะหมายถึงความยั่งยืนนานไม่ร่วงโรย
จึงมักใช้ร้อยเป็นพวงมาลัย หรือร้อยเป็นอุบะประดับในงาน




หรือจัดเป็นพานพุ่มสำหรับบูชาพระ ไหว้ครู หรือประดับ ในงานต่างๆ
เด็กนักเรียนในอดีตจะคุ้นเคยกับการจัดพาน พุ่มจากดอกบานไม่รู้โรยเป็นอย่างดี
เพราะถูกเกณฑ์ให้เก็บดอกบานไม่รู้โรยมาเสียบกับไม้กลัดที่ทำจากไม้ไผ่
แล้วปักลงบนดินเหนียวที่พูนเอาไว้บนพานเป็นรูปทรงที่ต้องการ
สลับสีเป็นลวดลายต่างๆ ตามที่เห็นว่าสวยงาม
พานพุ่มดังกล่าวปัจจุบันปรับเปลี่ยนจากไม้กลัดเป็นเข็มหมุด
จากดินเหนียวเป็นโฟมหรือพลาสติก
แต่ก็ยังคงใช้ดอกบานไม่รู้โรยอยู่อย่างเดิม




ต้นบานไม่รู้โรยนับเป็นพืชที่ปลูกขยายพันธุ์ง่าย
และแข็งแรงทนทาน จึงพบเห็นขึ้นอยู่ทั่วไป
ชอบแสงแดดจัดจึงเหมาะสำหรับปลูกกลางแจ้ง
ต้องการความชื้นบ้าง และทนทานความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร
ออกดอกได้ตลอดทั้งปี





การปลูกก็เพียงแต่พรวนดินแล้วโรยเมล็ดลงไปก็พอแล้ว
เมื่อได้ความชื้นจากฝนหรือน้ำที่รดให้ก็จะงอกงามขึ้นมาได้เอง
เหมือนกับที่เพลงสำหรับเด็กเพลงหนึ่งมีเนื้อร้องว่า

"วันนี้เป็นวันจันทร์ฉันจะปลูกทานตะวันไว้รอบๆ บ้าน
พรุ่งนี้วันอังคารบานไม่รู้โรยฉันจะโปรยริมรั้ว..."
























ดอกบานไม่รู้โรยในประเทศไทยพบอยู่ ๓ สี
คือ สีขาว สีม่วงแดง และสีชมพู
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นลูกผสมระหว่างสีขาวกับสีม่วงแดง





















ประโยชน์ของบานไม่รู้โรย
แพทย์แผนไทยนำบานไม่รู้โรยมาใช้รักษาโรคได้หลายชนิด
ดังปรากฏในตำราสรรพคุณสมุนไพรดังนี้




*ต้น : รสขื่นเล็กน้อย ขับ ปัสสาวะ แก้หนองใน กามโรค แก้กระษัย ขับระดูขาว แก้กล่อนปัตตะคาด

*บานไม่รู้โรยขาวทั้งห้า : แก้ ไอหรือรากเป็นเลือด เลือดออกจากทวารทั้งเก้า

*ดอกบานไม่รู้โรยขาว : แก้นิ่ว


ที่มา:http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=see&month=04-01-2012&group=5&gblog=48

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น