จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ชวนชม

ชวนชม


  ชวนชมเป็นพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงามสะดุดตา มีรูปทรงของต้นและกิ่งก้านที่สวยงามและอ่อนช้อยนุ่มนวล เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งจนได้รับสมญาว่า Derert Rose หรือ " กุหลาบทะเลทราย " นอกจากนี้ชวนชมยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคลตามความเชื่อของคนไทย แม้แต่ชาวจีนซึ่งเรียกชวนชมว่า " ปู้กุ้ยฮวย " หรือ ดอกไม้แห่งความร่ำรวยก็ยังมีความหมายไปในทางศิริมงคลเช่นกัน
     ชวนชมมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่าราวปี พ.ศ. 2305 แต่กลุ่มนักพฤกษศาสตร์ในสมัยนั้นเชื่อว่าไม้ดอกที่พบเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ และในราวปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ ( Josef August Schultes ) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรียได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทม จนเป็นที่ยอมรับว่า ชวนชมคือดอกไม้ชนิดใหม่
     สำหรับในประเทศไทย ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีผู้นำชวนชมเข้ามาปลูกเลี้ยงตั้งแต่เมื่อใด แต่จากหลักฐานพอสันนิษฐานได้ว่า มีการนำชวนชมเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 70 ปีแล้ว โดยผ่านทางราชสำนักหลังการเสด็จประพาสต่างประเทศ เพราะมีการพบเห็นชวนชมปลูกอยู่ในเขตพระราชวังและวังเจ้านายทั่วไป จากการสืบค้นของ อาจารย์วิชัย อภัยสุวรรณ (ผู้เขียนหนังสือ " ไม้ดอกและประวัติไม้ดอกเมืองไทย " ) ทราบว่า อย่างน้อยที่สุดคนไทยรู้จักเล่นชวนชมมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 6 โดยพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระมเหสีองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ได้ทรงนำพันธุ์ชวนชมเข้าไปปลูกในพระตำหนักลักษมีวิลาศ แต่ไม่มีผู้ใดทราบว่าทรงนำต้นชวนชมมาจากแหล่งใด แต่ที่ปรากฏแน่ชัดคือ พระองค์ประทานชื่อดอกไม้นี้ว่า " ชวนชม "

ลักษณะโดยทั่วไป 

ชวนชมเป็นพืชที่มีเนื้อเยื่ออ่อน เปลือกของลำต้นบาง ต้นและกิ่งก้านกลมมียางใส จัดเป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับลั่นทม พืชในวงศ์นี้มีมากมายถึง 300 สกุลและมากกว่า 1,300 ชนิด มีทั้งไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย ไม้พุ่มและไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะในป่าเขตร้อน สำหรับชวนชมถูกจัดอยู่ในสกุล Adenium obesum มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชื่อ เช่น Pink Bignonia , Mock Azalea , Desert Rose , Impala Lily , Kudu Lily และ Sabi Star 

ลำต้น เป็นไม้เนื้ออ่อน อวบน้ำ ต้นและกิ่งเป็นลำกลม ผิวค่อนข้างเรียบสีเขียวอมเทา เปลือกบาง แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ ส่วนโคนของลำต้นพองออกมีขนาดรูปทรงใหญ่เล็กแตกต่างกันไปเรียกว่า " โขด " มีไว้สำหรับเก็บน้ำเพื่อรักษาสมดุลของต้น

โขด ของชวนชมคือรากที่ใช้สะสมอาหาร เช่นเดียวกับ เผือก มัน หรือพืชที่มีหัวทั่วไป มีลักษณะบวมออกเป็นหัวขนาดใหญ่อยู่ใต้ดินหรือโผล่ขึ้นเหนือดินมีรูปทรงแตกต่างกันไป

ใบ เป็นใบแบบเดี่ยว ออกเวียนรอบกิ่งคล้ายกังหันหลายๆ ชั้น และออกหนาแน่นตามปลายกิ่ง ใบของชวนชมมีหลายลักษณะแตกต่างกันขึ้นกับสายพันธุ์ เช่น ใบรูปไข่ ใบรูปหอก ปลายใบมีทั้งเว้า มน แหลมและใบตัด ขอบใบเรียบ หยักหรือเป็นคลื่น แผ่นใบหนาแข็งเขียวเข้มเป็นมันหรือบางพันธุ์มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่ที่ใต้ท้องใบ มีขนาดใหญ่และเล็กแตกต่างกันไป 

ดอก ชวนชมจะออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งประมาณ 10-20 ดอก มีทั้งแบบบานพร้อมกันทั้งช่อและทยอยบานครั้งละ 4-5 ดอก บานได้นาน 10-20 วัน ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 8-10 ซม.

- กลีบเลี้ยง มีลักษณะเป็นกลีบเล็กๆ 5 กลีบ รูปรี ปลายแหลม ติดอยู่รอบโคนดอกเหนือฐานรองดอก มีสีแดง เขียว ชมพูอมแดงหรือเหลืองอมเขียว เมื่อดอกร่วงแล้วกลีบดอกยังติดแน่นอยู่ที่ฐานรองดอก 
- โคนกลีบดอกหรือหลอดดอก คือส่วนที่อยู่ต่อจากกลีบเลี้ยงขึ้นมามีลักษณะเป็นทรงกรวยกลมยาว โคนหลอดเรียวเล็กลงติดกับกลีบเลี้ยง ปลายบานออกติดกับกลีบดอก 
- กลีบดอก มี 5 กลีบ เรียงติดอยู่รอบโคนกลีบดอกหรือหลอดดอกคล้ายปากแตร แต่ละกลีบมีรูปทรงหลายแบบ คือ รูปกลม รูปไข่ รูปแถบและรูปรี 
- เกสรตัวผู้ อยู่ตรงส่วนโคนของหลอดดอก เป็นรูปกระโจมคลุมยอดเกสรตัวเมีย ประกอบด้วยละอองเรณู 5 อันเรียงติดกันบนก้านชูเกสรตัวผู้ มีโคน ระยางเชื่อมต่อจากปลายเกสรตัวผู้ยาวขึ้นไปตลอดหลอดดอก 5 เส้น ภายในอับละอองเรณูนี้เมื่อแก่พร้อมที่จะผสมเกสร จะมีละอองเกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นขลุยสีเหลืองละเอียด 
- เกสรตัวเมีย อยู่ตรงส่วนโคนของหลอดดอก ล้อมรอบด้วยเกสรตั









ที่มา:https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%A1&hl=th&prmd=imvns&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=rYxIUMX-K8r5rAeqtYDYAw&ved=0CAgQ_AUoAQ&biw=1366&bih=667http://www.pantown.com/board.php?id=3402&area=4&name=board4&topic=348&action=view

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น